5 รูปแบบ Crypto Scams ที่นักเทรดควรรู้
ปัจจุบันการเทรดคริปโตได้รับความสนใจอย่างมาก และเมื่อมีคนสนใจมาลงทุนกันเรื่อยๆ ก็อาจจะเรียกความสนใจจากเหล่าอาชญากรไซเบอร์ได้ง่ายมากขึ้น
โดยอ้างอิงจากเมื่อตอนปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา เหล่าแฮ็กเกอร์ในตลาดคริปโตทำการฟอกเงินไปทั้งหมด 432 ล้านดอลลาร์ โดย 56% มาจากการแฮ็กบน Defi ถือว่าเป็นเงินจำนวนมากเลยทีเดียว แต่ก็ยังไม่รวมอาชญากรรมรูปแบบอื่นๆในกลุ่มคนที่เทรดคริปโตนะครับ
และอาชญากรรมไซเบอร์ในแวดวงของตลาดคริปโตหรือ Crypto scams ที่เหล่าแฮ้กเกอร์ใช้กัน มีวิธีไหนบ้างที่ และมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีกมากในปีนี้ ไปดูกันเลย
- DeFi rug pulls : เป็นวิธีการโกงที่พบได้มากบนระบบ DeFi โดยจะหลอกให้เอาเงินมาลงทุนไว้ในแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล หรือ DEX (Decentralized Cryptocurrency Exchange) และหลังจากนั้นก็จะเอาเงินโอนออกไปจนหมด โดยไม่สามารถตรวจสอบและติดตามได้ และไม่รู้ว่าสุดท้ายเงินที่หายไปนั้นไปอยู่ในกระเป๋าใคร ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิด rug pulls บนแพลตฟอร์ม DEX เพราะว่า ระบบดังกล่าวเปิดรับผู้ใช้งานทุกคนและไม่มีการตรวจสอบก่อน จึงทำให้สามารถใช้เป็นช่องทางเข้ามาหาเงินได้ง่าย ดังนั้น ควรสังเกตว่า ราคาของเหรียญนั้นพุ่งขึ้นเร็วเกินไปภายในเวลาสั้นๆหรือไม่ เพราะเหล่าอาชญากรรมอาจใช้วิธีนี้ เพื่อสร้างปรากฏการณ์ FOMO เพื่อให้คนมาลงทุนเยอะๆนั่นเอง
- NFT Scams (Nonfungible Tokens) : เป็นอีกกระแสที่ได้รับความสนใจอย่างมากในตอนนี้ และ NFT ไม่จำกัดว่าต้องเป็นงานศิลปะเท่านั้น อาจรวมถึงเอกสารเกี่ยวกับที่อยู่ รถยนต์ หรืออะไรก็ได้ที่หากมีคนยอมจ่ายและยินดีที่จะซื้อ ก็สามารถทำเงินให้เจ้าของทรัพย์สินนั้นๆได้ และสิ่งนี้อาจทำให้ NFT ตกเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายของแฮ็กเกอร์ได้ โดยวิธีการแฮ็ก NFT ที่กำลังเกิดขึ้นและอาจจะเกิดขึ้น มีหลายแบบด้วยกัน
- Replica Store เป็นการสร้างเว็บไซต์ปลอมที่มีหน้าตาเหมือนเว็บไซต์ทางการ และพยายามหลอกให้ผู้ใช้งานล็อกอิน เพื่อที่จะได้เอาข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลบัตรเครดิต วิธีนี้มักใช้แฮ็กกับเว็บไซต์ขายของออนไลน์ และช่องทางการขาย NFT ที่มักจะโดนลอกเลียนแบบเว็บไซต์
- Giveaways/Airdrops วิธีนี้นั้น คือ หลอกกลุ่มคนที่ชื่นชอบ NFT มากๆ โดยดูว่า ตอนนี้เหรียญคริปโตเหรียญไหน หรืองาน NFT ของใครกำลังเป็นที่นิยม แฮ็กเกอร์ก็จะทำการส่งลิงก์เสนอให้เหรียญคริปโตหรือ NFT ฟรีๆ
- Brand Impersonation เป็นวิธีที่แฮกเกอร์พยายามเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด โดยสร้างกลุ่มหรือคอมมูนิตี้เลียนแบบ Official Brand ส่วนใหญ่จะเจอได้ในเทเลแกรมหรือดิสคอร์ด
- Altcoins Pump and Dump : เป็นการสร้างกระแสเพื่อปั่นราคาเหรียญให้สูงขึ้น โดยการซื้อเหรียญมาเก็บไว้เป็นจำนวนมาก จากนั้นก็เอามาปล่อยในราคาสูงๆ เพื่อกวาดเอากำไรจากการขายกลับมา โดยส่วนมากแฮ็กเกอร์จะเลือกหยิบเหรียญ Altcoin ที่มูลค่าไม่สูงและสภาพคล่องต่ำหรือไม่ได้เป็นที่นิยมเช่นนี้ขึ้นมาสร้างกระแสปั่นราคา โดยจะใช้วิธีบอกต่อข่าวลือในโซเชียล เพื่อต้องการสร้างปรากฏการณ์ FOMO ให้มากที่สุด เป็นการกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายให้อยากซื้อเหรียญนั้น เมื่อราคาเหรียญพุ่งไปถึงจุดสูงสุดแล้ว แฮ็กเกอร์ก็จะทำการปล่อยเหรียญที่ซื้อเก็บไว้ออกมาขายเอาเงินไปนั่นเอง
- Malware : เป็นวิธีการที่แฮ็กเกอร์จะเจาะเข้าระบบบัญชีการใช้งาน แล้วโอนเงินทั้งหมดออกจาก Wallet ของผู้ที่ถูกแฮ็ก และจะไม่สามารถเอาเงินกลับคืนมาได้ มักจะมาในรูปของไฟล์หรือลิงก์ที่ส่งมาใน E-mail ข้อความ หรือช่องทางอื่นๆ หรือส่งมาในรูปของซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Exploit Kits
- Fake ICOs (Initial Coin Offerings) : เป็นการระดมทุนอย่างหนึ่ง โดยมักจะใช้กับบริษัทขนาดเล็กหรือ Start Up มีวิธีการ คือ หากองค์กรมีแผนพัฒนาหรือสร้างสินค้า บริการ หรือแอพพลิเคชั่นขึ้นมาสักอย่างหนึ่ง โดยจะทำการออกเหรียญเพื่อขายให้กับคนที่สนใจและมองว่า โปรเจ็กต์นั้นจะสามารถประสบความสำเร็จได้ และหากนักลงทุนสนใจก็ให้มาซื้อเหรียญ ICOs ด้วยการจ่ายเหรียญคริปโตนั่นเอง ซึ่ง ICOs มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน และสามารถระดมทุนจากนักลงทุนได้ทั่วโลกที่มีระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งตรงนี้จึงทำให้ง่ายต่อการถูกแฮ็กนั่นเอง